วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

หมู่เลือด

ระบบหมู่เลือด ABO
เป็นหมู่เลือดที่สำคัญที่สุดในการให้เลือด (blood transfusion) เป็นระบบที่พบก่อน

ระบบอื่นๆโดย Landsteiner .. 2443 จากการทดระบบหมู่เลือด ABOและ RH
หมู่โลหิต (หมู่เลือดนั่นหละ เรียกหรูๆเฉยๆ 55) การที่มนุษย์เรามีหมู่เลือดต่างกันนั้น เกิดจากการมีโมเลกุลโปรตีนที่เรียกว่าแอนติเจน(Antigens) และแอนติบอดี้(Antibodies)ที่แตกต่างกัน แอนติเจนนั้นจะอยู่ที่ผิวของเซลล์เม็ดเลือดแดง ส่วนแอนติบอดี้นั้นจะอยู่ในน้ำเหลือง โดยหมู่เลือดที่แต่ละคนมีนั้นจะได้รับการถ่ายทอดมาจากพ่อแม่ของแต่ละคน
ปัจจุบันนี้มีหมู่เลือดที่ใช้หลักพันธุศาสตร์เป็นตัวพิจารณาอยู่ มากกว่า 20 แบบ แต่ระบบ ABO และ Rh เป็นระบบที่สำคัญที่สุดที่ใช้ในการถ่ายเลือด การผสมกันของหมู่เลือดที่ไม่เข้ากันจะทำให้เลือดจับตัวเป็นก้อน(Blood clumping หรือagglutination) ซึ่งจะเป็นอันตรายมาก ผู้ที่ค้นพบหมู่เลือด ABO และRh ชื่อว่า Laureate Karl Landsteiner
ระบบหมู่เลือด ABOแบ่งเป็น 4 แบบคือ A, B, AB, และ O(หรือ null) 1. หมู่เลือด A (AA หรือ AO) : สำหรับคนที่มีหมู่เลือดเอ แสดงว่าคุณมีแอนติเจนชนิด A และมีแอนติบอดี้ชนิดB 2. หมู่เลือด B (BB หรือ BO): สำหรับคนที่มีหมู่เลือดบี แสดงว่าคุณมีแอนติเจนชนิด B และมีแอนติบอดี้ชนิดA 3. หมู่เลือด AB :สำหรับคนที่มีหมู่เลือดเอบี แสดงว่าคุณมีแอนติเจนทั้งชนิดA และ B แต่ไม่มีแอนติบอดี้ชนิดไหนเลย 4.หมู่เลือด O (OO) : สำหรับคนที่มีหมู่เลือดโอ แสดงว่าคุณมีไม่มีแอนติเจนชนิดไหนเลย แต่มีแอนติบอดี้ทั้งชนิด A และ B
- คนที่มีหมู่เลือด A (AO) จะสามารถถ่ายเลือดให้กับคนหมู่ Aและหมู่ O ได้ - คนที่มีหมู่เลือด A (AA) จะสามารถถ่ายเลือดให้กับคนหมู่ Aได้หมู่เดียว - คนที่มีหมู่เลือด B (BO) จะสามารถถ่ายเลือดให้กับคนหมู่ Bและหมู่ O ได้ - คนที่มีหมู่เลือด B (BB) จะสามารถถ่ายเลือดให้กับคนหมู่ Bได้หมู่เดียว - คนที่มีหมู่เลือด AB จะสามารถถ่ายเลือดให้กับคนหมู่ ABได้หมู่เดียว - คนที่มีหมู่เลือด O จะสามารถถ่ายเลือดให้กับคนหมู่ A,หมู่ B, หมู่ AB, และหมู่ O ได้ ("universal donors") หรือ - คนที่มีหมู่เลือด A (AO) จะสามารถรับเลือดจากคนหมู่ A และหมู่ O ได้ - คนที่มีหมู่เลือด A (AA) จะสามารถรับเลือดจากคนหมู่ A ได้หมู่เดียว - คนที่มีหมู่เลือด B (BO) จะสามารถรับเลือดจากคนหมู่ B และหมู่ O ได้ - คนที่มีหมู่เลือด B (BB) จะสามารถรับเลือดจากคนหมู่ B ได้หมู่เดียว - คนที่มีหมู่เลือด AB จะสามารถรับเลือดจากคนหมู่ A, หมู่ B, หมู่ AB, และหมู่ O ได้ ("universal receivers") - คนที่มีหมู่เลือด Oจะสามารถรับเลือดจากคนหมู่ O ได้หมู่เดียว

 ลอง
Landsteiner สรุปได้ว่าม
หมู่เลือดอยู่ 4 หมู่เมื่อคำนึงถึงการมีแอนติเจน A แแอนติเจน B ดังนี




ที่มา  http://evilpj.exteen.com/20081014/abo-rh   วันที่  31  มกราคม 2556
 

DNA








              ดีเอ็นเอ (DNA)คือ ชื่อย่อของสารพันธุกรรม มีชื่อแบบเต็มว่า กรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก (Deoxyribonucleic acid) ซึ่งเป็นจำพวกกรดนิวคลีอิก(Nucleic acid) (กรดที่สามารถพบได้ในส่วนของใจกลางของเซลล์) ซึ่ง ดีเอ็นเอ (DNA) มักพบอยู่ในส่วนของนิวเคลียสของเซลล์      โดยพันตัวอยู่บนโครโมโซม(chromosome) ดีเอ็นเอ (DNA)มักพบในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ได้แก่ คน     (Human), สัตว์ (Animal), พืช (Plant), เห็ดและรา (Fungi), แบคทีเรีย (Bacteria), ไวรัส (Virus) (ไวรัสอาจจะไม่ถูกเรียกว่าสิ่งมีชีวิตเพราะองค์ประกอบบางอย่างไม่ครบ) เป็นต้น ดีเอ็นเอ (DNA)     ทำการเก็บข้อมูลทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งๆเอาไว้ ซึ่งมีลักษณะที่มีการผสมผสานมาจากสิ่งมีชีวิตรุ่นก่อน ซึ่งก็คือ รุ่นพ่อและแม่ (Parent) ทั้งยังสามารถถ่ายทอดลักษณะไปยังสิ่งมีชีวิตรุ่นถัดไป    ซึ่งก็คือรุ่นลูก หรือ รุ่นหลาน (Offspring) ดีเอ็นเอเป็นพอลิเมอร์สายยาวที่ประกอบจากหน่วยย่อยซ้ำ ๆ เรียกว่า นิวคลีโอไทด์ ตามที่ถูกค้นพบครั้งแรกโดย เจมส์ ดี. วัตสันและฟรานซิส คริก โครงสร้างดีเอ็นเอในทุกสปีชีส์ประกอบด้วยสายเกลียวสองสายพันรอบแกนเดียวกันแต่ละสายมีความยาวเกลียว 34 อังสตรอม (3.4 นาโนเมตร) และรัศมี 10 อังสตรอม (1.0 นาโนเมตร)ในอีกการศึกษาหนึ่ง ซึ่งวัดในสารละลายบางชนิด พบว่า สายดีเอ็นเอวัดความกว้างได้ 22 ถึง 26 อังสตรอม (2.2 ถึง 2.6 นาโนเมตร)     และหนึ่งหน่วยนิวคลีโอไทด์วัดความยาวได้ 3.3 อังสตรอม (0.33 นาโนเมตร)แม้ว่าแต่ละหน่วยที่ซ้ำ ๆ กันนี้จะมีขนาดเล็กมาก แต่พอลิเมอร์ดีเอ็นเอกลับมีขนาดใหญ่มาก โดยประกอบด้วยนิวคลีโอไทด์หลายล้านหน่วย                ตัวอย่างเช่น โครโมโซมหมายเลข 1 ซึ่งเป็นโครโมโซมมนุษย์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีความยาว 220          ล้านคู่
เบส
ทีมา   https://www.google.co.th/search  วันที 31 มกราคม 2556

ระบบสืบพันธุ์เพศหญิง

 
 
 
 
ระบบสืบพันธุ์เพศหญิง ระบบสืบพันธุ์เพศหญิง ประกอบด้วยอวัยวะต่างๆ ดังนี้
1. รังไข่ ทำหน้าที่ผลิตไข่และฮอร์โมนเพศหญิง ซึ่งจะกำหนดลักษณะต่างๆในเพศหญิง เช่น ตะโพกผาย เสียงแหลม สำหรับรังไข่จะมี 2 อัน ซึ่งจะอยู่คนละข้างของมดลูกจะมีลักษณะคล้ายเม็ดมะม่วงหิมพานต์ยาวประมาณ 2 - 3 เซนติเมตร หนา 1 เซนติเมตร
2. ท่อนำไข่ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ปีกมดลูก เป็นทางเชื่อมต่อระหว่างรังไข่ทั้งสองข้างกับมดลูก ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของไข่ที่ออกจากรังไข่เข้าสู่มดลูกและเป็นบริเวณที่อสุจิจะเข้าปฏิสนธิกับไข่ ท่อนำไข่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 6 - 7 เซนติเมตร
3. มดลูก มีรูปร่างคล้ายผลชมพู่หัวกลับลง กว้างประมาณ 4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 6 - 8 เซนติเมตร หนาประมาณ 2 เซนติเมตร อยู่ในบริเวณอุ้งกระดูกเชิงกรานระหว่างกระเพาะปัสสาวะกับทวารหนัก ทำหน้าที่เป็นที่ฝังตัวของไข่ที่ได้รับการผสมแล้วและเป็นที่เจริญเติบโตของทารกในครรภ์
  4. ช่องคลอด อยู่ต่อจากมดลูกลงมา ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของตัวอสุจิเข้าสู่มดลูกและเป็นทางออกของทารก
การตกไข่ การตกไข่ หมายถึง การที่ไข่สุกและออกจากรังไข่เข้าสู่ท่อนำไข่ โดยปกติรังไข่แต่ละข้างจะสลับกันผลิตไข่ในแต่ละเดือน ดังนั้น จึงมีการตกไข่เกิดขึ้นเดือนละ 1 ใบ ในช่วงกึ่งกลางของรอบเดือน เมื่อมีการตกไข่ มดลูกจะมีการเปลี่ยนแปลงโดยมีผนังหนาขึ้นทั้งมีเลือดมาหล่อเลี้ยงเป็นจำนวนมาก ซึ่งต่อไปจะเกิดการเปลี่ยนแปลงใน 2 กรณีต่อไปนี้
1. ถ้ามีอสุจิเคลื่อนที่เข้ามาในท่อนำไข่ในขณะที่มีการตกไข่ อสุจิจะเข้าปฏิสนธิกับไข่ที่บริเวณท่อนำไข่ด้านที่ใกล้กับรังไข่ ไข่ที่ได้รับการผสมแล้วจะเคลื่อนตัวเข้าสู่มดลูก เพื่อฝังตัวที่ผนังมดลูกและเจริญเติบโตต่อไป
2. ถ้าไม่มีตัวอสุจิเข้ามาในท่อนำไข่ ไข่จะสลายตัวก่อนที่จะผ่านมาถึงมดลูก จากนั้นผนังด้านในของมดลูกและเส้นเลือดที่มาหล่อเลี้ยง เป็นจำนวนมากก็จะสลายตัว แล้วไหลออกสู่ภายนอกร่างกายทางช่องคลอด เรียกว่า ประจำเดือน โดยปกติผู้หญิงจะเริ่มมีประจำเดือนเมื่อายุประมาณ 12 ปี ขึ้นไป รอบของการมีประจำเดือนแต่ละเดือนจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน โดยทั่วไปประมาณ 28 วัน และจะมีทุกเดือนไปจนกระทั่งอายุประมาณ 50 - 55 ปี จึงจะหยุดการมีประจำเดือน โดยจะขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของร่างกาย
 
 
 
 
 
 
            
           วันที่ 31 มกราคม  2556

ส่วนประกอบของร่างกาย

                                        

ลักษณะทางชีวภาพที่บ่งบอกถึงการเป็นมนุษย์ คือ ลักษณะทางกายและชีวภาพ ซึ่งมีโครงสร้างซับซ้อน โดยเริ่มจากระดับโมเลกุล เซลล์ เนื้อเยื่อ และอวัยวะ โครงสร้างทุกระดับรวมกันเรียกว่าระบบอวัยวะ ระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆภายในร่างกายล้วนเป็นเรื่องน่าพิศวง โดยธรรมชาติได้มีการจัดระบบต่างๆขึ้นอย่างมีระเบียบ ได้แก่ ระบบห่อหุ้มร่างกาย ระบบโครงกระดูก ระบบกล้ามเนื้อ ระบบประสาท ระบบหายใจ ระบบต่อมไร้ท่อ ระบบย่อยอาหาร ระบบไหลเวียนโลหิต ระบบขับถ่าย ระบบสืบพันธุ์ มีการทำงานประสานกันอย่างอัตโนมัติ ดังนั้นจึงควรเรียนรู้ให้เข้าใจเพื่อรู้วิธีดูแลรักษาให้ดำรงประสิทธิภาพการทำงานของอวัยวะต่างๆเหล่านั้นให้สามารถใช้ประโยชน์อย่างสูงแก่ชีวิตของเราให้นานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
ระบบอวัยวะของร่างกาย
ร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยโครงสร้างที่สลับซับซ้อน โดยโครงสร้างต่างๆจะมีหน้าที่ของตนเอง และในขณะเดียวกันก็มีความสัมพันธ์กับโครงสร้างอื่นๆด้วย สามารถจำแนกโครงสร้างต่างๆภายในร่างกายเป็นระบบอวัยวะ ดังนี้
1. ระบบผิวหนังหรือระบบห่อหุ้มร่างกาย (Integumentary system)
2. ระบบกระดูก (Skeletal system)
3. ระบบกล้ามเนื้อ (Muscular system)
4. ระบบย่อยอาหาร (Digestive system)
5. ระบบขับถ่ายปัสสาวะ (Urinary system)
6. ระบบหายใจ ( Respiratory system)
7. ระบบไหลเวียนโลหิต ( Vascular system)
8. ระบบประสาท (Nervous system)
9. ระบบสืบพันธุ์ (Reproductive system)
10. ระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine system)
1. ระบบผิวหนัง

ที่มา    http://blog.eduzones.com/araya/32997  วันที่31 มกราคม  2556

ระบบนิเวศ



ระบบนิเวศ หมายถึง ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในแหล่งที่อยู่อาศัย ณ ที่ใดที่หนึ่ง ความสัมพันธ์มี 2 ลักษณะ คือ ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิต และระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิตด้วยกันเอง โดยมีการถ่ายทอดพลังงานและสารอาหารในบริเวณนั้น ๆ สู่สิ่งแวดล้อม

สิ่งแวดล้อมอาจแบ่งได้ออกเป็น 2 ประเภท
1. สิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต (Abiotic Environment) หรือปัจจัยทางกายภาพ (Physical Factor) ได้แก่ แสงสว่าง อุณหภูมิ น้ำและความชื้น กระแสลม อากาศ ความเค็ม ความเป็นกรด-เบส แร่ธาตุ ไฟแก๊ส
2. สิ่งแวดล้อมที่มีชีวิต (Biotic Environment) หรือปัจจัยทางชีวภาพ (Biotic Factor)

ความหลากหลายในระบบนิเวศ
ระบบนิเวศประกอบด้วยสิ่งมีชีวิตนานาชนิดและรูปแบบต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นพืช สัตว์ จุลินทรีย์ที่อยู่รวมกันบริเวณใดบริเวณหนึ่ง โดยสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมรอบ ๆ ตัวได้ การปรับตัวเปลี่ยนแปลงบางอย่างของสิ่งมีชีวิตอาจเกิดขึ้นภายในหนึ่งชั่วอายุหรือยาวนานหลายชั่วอายุ โดยผ่านการคัดเลือกตามธรรมชาติ ตามกระบวนการวิวัฒนาการ คุณสมบัติและความสามารถของสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตและสภาวะแวดล้อมต่างก็มีบทบาทร่วมกัน และมีปฏิกิริยาต่อกันและกันอย่างซับซ้อนในระบบนิเวศที่สมดุล โครงสร้างและคุณสมบัติของระบบนิเวศเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้สิ่งมีชีวิตต่าง ๆ รวมทั้งมนุษย์อยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล เมื่อความเจริญและอารยธรรมของมนุษย์ได้มาถึงจุดสุดยอดและเริ่มเสื่อมลงเพราะมนุษย์เริ่มทำลายสิ่งมีชิตชนิดอื่นที่เคยช่วยเหลือสนับสนุนตนเองมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นด้านอาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค หรือการแสวงหาความสุขและความบันเทิงบนความทุกข์ยากของสิ่งมีชีวิตอื่น จนทำให้เกิดการเสียสมดุลของระบบนิเวศ ซึ่งนำไปสู่ความเสียหายอย่างใหญ่หลวงของสรรพสิ่งทั้งมวล
การที่สิ่งมีชีวิตชนิดต่าง ๆ ถูกทำลายสูญหายไปจากโลก จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยเร่งให้อัตราการสูญพันธ์ของสิ่งมีชีวิตนานาชนิดที่เหลืออยู่เพิ่มมากขึ้นเป็นทวีคูณ อันเนื่องมาจากการเสียดุลของระบบนิเวศนั้นเอง อัตราการสูญพันธุ์อาจแตกต่างกันไปในแต่ละระบบนิเวศ จะมีทางเป็นไปได้มากน้อยเพียงใดหรือไม่ที่มนุษย์จะนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ในการปรับปรุงหาสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นมาทดแทนสิ่งมีชีวิตที่สูญพันธุ์ไป ทั้งนี้เพราะการสูญเสียแหล่งสะสมความแปรผันทางพันธุกรรม อันถือว่าเป็นขุมทรัพย์ล้ำค่าของประชากรสิ่งมีชีวิต นั้นจะเป็นการส่งเสริมให้มีการทำลายความหลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศนั้น ๆ มากขึ้น

ที่มา http://psc.pbru.ac.th/lesson/index-ecosystem.html วันที่ 31 มกราคม 2556